เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

Week 3

          ฉันเฝ้ามองเด็กคนหนึ่งมาตลอดระยะเวลา ฉันสงสัยทำไมเขาถึงไม่ชอบที่จะนั่งเรียนเฉยๆ เหมือนคนอื่นๆ แต่สิ่งที่ทำให้ฉันแปลกใจก็คือ เขาสามารถตอบได้ทุกอย่างที่ครูถาม ในสายตาของฉันที่เป็นครูการศึกษาพิเศษ อาจเรียกเขาว่าเด็กสมาธิสั้น อาจไม่ถูกใจใครหลายๆ คน เพราะแค่คำว่า สมาธิสั้น
คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดเป็นแง่ลบว่า ปัญญาอ่อน ไม่สามารถจะเรียนอะไรได้เลยกลับตรงข้าม เป็นเด็กที่มีสมาธิมากเหมือนอยู่ในภวังค์ในเรื่องที่ชอบ สนใจแต่ ไม่อาจมีสมาธิได้เลยในเรื่องที่ไม่สนใจ  เพียงเพราะนิยามที่เขาเรียกกัน แต่เขาไม่เข้าใจหรอกว่า ในคำว่าสมาธิสั้นนั้นแฝงไปด้วยความเก่ง ไหวพริบและ ไอคิวดีมาก ฉันจึงได้แต่เก็บไว้ในใจ ไม่อยากจะพูดออกไป เพราะความคิดของคนหลากหลายมุมมอง ยากที่จะเข้าใจ




         สัปดาห์นี้ ได้มีโอกาสอ่านบทความของเพจ วินทร์ เลียววารินทร์ ซึ่งติดตามมานาน ได้อ่านบทความนี้ จึงได้นำมาแชร์ไว้ 

คนเราไม่ว่าจะมีกี่อาชีพในชีวิต ก็จะมีอาชีพสุดท้ายเสมอ
‘อาชีพสุดท้าย’ ในที่นี้มิได้หมายถึงอาชีพที่เราประกอบในช่วงสุดท้ายเสมอไป หากมีความหมายในเชิงนามธรรม นั่นคืออาชีพที่เราคิดจะปักหลักไปจนตาย
‘อาชีพสุดท้าย’ จึงมักหมายถึงอาชีพอาชีพในฝัน อาชีพที่เรารัก หรืออยากทำ หรืออย่างน้อยก็ไม่ต้องกล้ำกลืนฝืนทนทำ เป็นอาชีพที่ไม่คิดจะเปลี่ยนอีกแล้ว จนเราสามารถเอ่ย “นี่เป็นอาชีพสุดท้ายของฉัน”
คืออาชีพที่อยากทำไปจนวันตาย
บางครั้งอยากทำมันมากจนไม่คิดจะหยุดในวันที่โลกกำหนดให้เป็นวันเกษียณ อยากทำจนตาย
หากใช้นิยามนี้ คนจำนวนมากในโลกอาจไม่มี ‘อาชีพสุดท้าย’ จริงๆ
สำหรับผม หากถามผมวันนี้ อาชีพสุดท้าย ณ วันนี้ก็คือนักเขียน
แต่จากประสบการณ์ชีวิต พบเห็นสัจธรรมของความไม่แน่นอน ผมไม่กล้าฟันธงจนกระทั่งถึงวันสุดท้ายบนโลก เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าแน่นอนว่า อาชีพสุดท้ายของเราคืออะไร ต่อให้ในวันนี้เรามั่นใจขนาดไหนก็ตาม
สมัยเมื่อผมทำงานสถาปนิก ผมเชื่อมั่นว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ว่ามันจะเป็นอาชีพสุดท้ายของตนเอง เมื่อทำงานโฆษณา ก็เชื่อมั่นเช่นเดียวกัน
เหล่านี้กลายเป็นอดีตไปหมดแล้ว
ใครจะรู้ ถ้ารู้สึกว่าสนุกกว่าที่ทำอยู่ในวันนี้ วันหนึ่งผมอาจจะมี ‘อาชีพสุดท้าย’ เป็นอย่างอื่นก็ได้ อาจเปลี่ยนเป็นคนขายน้ำเต้าหู้ เจ้ามือพนัน พระ ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
………………
เรารู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือ ‘อาชีพสุดท้าย’ ของเรา?
ง่ายนิดเดียว ใช้หัวใจตัวเองวัด
อาชีพสุดท้ายคืองานที่เราทำแล้วหัวใจเต้นแรง ตื่นขึ้นมาทุกเช้าอยากทำงานนั้น มันเป็นหัวเทียนจุดประกายเครื่องยนต์แห่งชีวิต
อาชีพสุดท้ายที่ทำจนวันตายก็คือเป้าหมายในอุดมคติของเรา
ดังนั้นยิ่งรู้เร็วเท่าไรว่าอะไรคืออาชีพสุดท้าย ก็ยิ่งมีเวลาพัฒนาตนเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายนั้นเร็วขึ้น
แต่แม้จะรู้ช้า ก็ยังดีกว่าไม่รู้เลย
ถ้าเราเชื่อชีวิตอุดมคติ เราก็คงเชื่อว่าเราสามารถมีอาชีพสุดท้ายที่เราชอบได้
แต่ส่วนใหญ่ อาชีพสุดท้ายมาจากการสร้าง ไม่ใช่รอคอย เพราะยากที่เราจะรู้ว่าตนเองรักจะทำงานอะไรหากไม่ลงมือทำ หรือคลุกคลี
นี่หมายความว่าเราต้องเปิดหูเปิดตา เปิดหัว เปิดใจ เพื่อรับสิ่งใหม่ๆ สิ่งที่ไม่ค้นเคย เข้าสู่พื้นที่ที่ไม่เคยไป เพื่อสร้างโอกาสของการพบ ‘อาชีพสุดท้าย’
และบางครั้ง หลายคนก็พบ ‘อาชีพสุดท้าย’ หลังจากเข้าใจและเริ่มมองเห็นคุณค่าของอาชีพที่ตนทำอย่างทุกข์ทรมานมานาน
และความเข้าใจนี้ก็อาจเปลี่ยนอาชีพนรกเป็น ‘อาชีพสุดท้าย’ ได้อย่างประหลาด
คุณค่าของงานมาจากการมอง แล้วเข้าใจ บางครั้งใช้เวลา แต่ถ้าเราไม่หยุดเปิดหัวใจมอง ก็อาจพบ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น